-->
26 เม.ย 2562
วิธีปฏิบัติการรดน้ำศพคฤหัสถ์ โดย บุญมา พวงหรีด 1.ถ้า อาวุโสมากกว่าตน ก่อนรดน้ำศพ นิยมนั่งคุกเข่าน้อมตัวลง ยกมือไหว้ พร้อมกับนึกขอขมาโทษต่อศพนั้นว่า “หากได้ล่วงเกินท่าน ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” 2.เมื่อยกมือไหว้ขอขมาแล้ว ถือภาชนะสำหรับรดน้ำด้วยมือทั้งสอง เทน้ำลงที่ฝ่ามือขวาของศพ พร้อมกับนึกในใจว่า “ร่างกายที่ตามแล้วนี้ ย่อมเป็นอโหสิกรรมไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้วฉะนั้น” 3.เมื่อรดน้ำศพเสร็จแล้ว นิยมน้อมตัวลงไหว้พร้อมกับอธิฐานว่า “ขอจงไปสู่สุคติเถิด”
18 เม.ย 2562
วิธีทำ พินัยกรรม ด้วยตัวเอง โดย บุญมา พวงหรีด ผลการเป็นโมฆะด้วยเหตุผลต่างๆที่ว่ามา หรือเสียไป เพราะแก้ไขตกเติมไม่ได้ ถ้าทำให้ทรัพย์มรดก เหลือรอดจากพินัยกรรม หรือกลายเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกก็ตกแก่ทายาทโดยธรรม ถ้ามี หากไม่มี ก็ตกเป็นของแผ่นดินหรือของรัฐ 1.ต้องทำเป็นเอกสาร คือทำเป็นหนังสือ ใช้ภาษาไทย หรือต่างประเทศก็ได้ (มีสำเนาเก็บไว้ด้วย สำเนาถ่ายเอกสารก็ได้) 2.เขียนด้วยลายมือของตัวเองทั้งฉบับ อย่าใช้คนอื่นเขียน อย่าใช้วิธีพิมพ์ (จะเป็นโมฆะ) ใครเขียนหนังสือไม่ได้ หมดสิทธิ์ 3.จะมีพยานหรือไม่มีก็ได้ กฎหมายไม่ห้ามไว้ แต่ถ้าจะให้บุคคลที่ไว้วางใจ (ไม่ทันตายง่ายๆ)เป็นพยานซัก 2 คนก็ดี ป้องกันใครเถียงภายหลังว่า ไม่ได้ทำพินัยกรรม หรือคนเซ็นปลอม แล้วไม่มีพยานตัวเป็นๆมายืนยัน 4.ต้องลงวัน เดือน ปี ขณะที่ทำ เพื่อพิสูจน์ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรม ว่าไม่เลอะเลือนฟั่นเฟือนในเวลานั้น หรือใช้ พิสูจน์ทราบ การทำพินัยกรรมก่อนหรือหลังฉบับอื่น ถ้าหากมี ขืนไม่ลงวันที จะตกเป็นโมฆะ 5.ต้องลงลายมือชื่อหรือเซ็นชื่อ ผู้ทำพินัยกรรม ใช้ลายพิมพ์นิ้วมือ หรือ เครื่องหมายอย่างอื่นไม่ได้เด็ดขาด ไม่ลงชื่อเซ็นชื่อ เป็นโมฆะ 6.การแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นการขูด ลบ ตก เติม แก้ไขเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ผู้ทำพินัยกรรมทำได้ด้วยมือตนเอง แล้วลง ลายมือชื่อหรือเซ็นกำกับไว้ ไม่ลงชื่อกำกับตรงไหน ก็ไม่สมบูรณ์เฉพาะที่แก้ไขเปลี่ยนแปลงตรงนั้น ไม่เสียไปทั้งฉบับ
9 พ.ค. 2562
การฝังศพบนฟ้าของชาวธิเบต...เป็นยังไง? โดย บุญมา พวงหรีด การทำศพแบบทิเบตที่เห็นนี้ เรียกว่า sky burial หรือการฝังศพบนท้องฟ้า เป็นพิธีศพสำหรับสามัญชนทั่วไป พิธีจะจัดขึ้นก่อนตะวันรุ่ง การทำศพแบบทิเบตที่เห็นนี้ เรียกว่า sky burial หรือการฝังศพบนท้องฟ้า โดยมีพระลามะดูแลและคอยชำแหละศพให้นกแร้งกินพิธีจะจัดขึ้นก่อนตะวันรุ่ง เป็นพิธีศพสำหรับสามัญชนทั่วไป ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีตั้งครรภ์ คนที่ตายจากโรคติดต่อหรืออุบัติเหตุ ส่วนการฝังในเจดีย์หรือเผาจะสงวนไว้สำหรับพระงามะตำแหน่งสูงๆเท่านั้น
29 พ.ค. 2562
๑. นั่งคุกเข่าตามเพศกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกขอขมาโทษว่า “หากได้ล่วงเกินท่าน ทั้งทางกาย วาจา ใจ ก็ดี ขอท่านโปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด” ๒. เมื่อขอขมาโทษเสร็จแล้ว พึงถือภาชนะด้วยทั้งสองเทน้ำรดลงที่ฝ่ามือขวาของศพ พร้อมกับนึกในใจว่า “ร่างกายที่ตามแล้วนี้ ย่อมเป็นอโหสิกรรมไม่มีโทษ เหมือนน้ำที่รดแล้วฉะนั้น” ๓. เมื่อรดเสร็จแล้ว กราบเบญจางคประดิษฐ์อีก ๓ ครั้ง พร้อมกับนึกอธิฐานว่า “ขอจงไปสู่สุคติเถิด”
12 มิ.ย. 2562
รวมขั้นตอน และการดำเนินการ รวมทั้งการจัดงานพิธีต่างๆ เมื่อมีผู้เสียชีวิต และต้องจัดงานเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ▶การแจ้งเสียชีวิต การดำเนินการเมื่อผู้เสียชีวิตมีการบริจาคอวัยวะ การขอรับเงินสงเคราะห์ศพเมื่อสมาชิกเสียชีวิต (ฌาปนกิจสงเคราะห์) ▶พิธีรดน้ำศพ และการอาบน้ำ(พระราชทาน) น้ำหลวงอาบศพการขอรับพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ▶พิธีสวดพระอภิธรรมศพ ▶พิธีทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ▶การบรรจุเก็บศพ ▶พิธีทำบุญบำเพ็ญกุศลในวันฌาปนกิจศพ ▶พิธีฌาปนกิจศพ การขอรับพระราชทานเพลิงศพแบบฟอร์ม ▶การเก็บอัฐิ ▶พิธีลอยอังคาร